Shipping (ชิปปิ้ง)

Shipping (ชิปปิ้ง) 1

Shipping (ตัวแทนออกของ) ชิปปิ้งคือตัวแทนผู้นำเข้าส่งออกที่คอยอำนวยความสะดวกในการดำเนินการด้านเอกสาร โดยขั้นตอนการทำงานนั้นเริ่มจากทางชิปปิ้งได้รับเอกสารการนำเข้าส่งออกสินค้าจากบริษัท ชิปปิ้งจะทำการตรวจสอบเอกสารว่าถูกต้องหรือไม่ อย่างไร ถ้าหากมีการผิดพลาดจะส่งกลับไปให้ทางลูกค้าแก้ไข หลังจากตรวจสอบเรียบร้อยแล้วชิปปิ้งจะจัดทำใบขนสินค้าเพื่อประกอบการผ่านพิธีการส่งออก และทำการตรวจปล่อยสินค้า และดำเนินการจัดส่งสินค้าจนถึงปลายทางสำหรับสินค้านำเข้า
ในการดำเนินพิธีการศุลกากรนั้นมีความซับซ้อนในหลายขั้นตอนตั้งแต่การเลือกพิกัดสินค้านำเข้าส่งออก การตรวจสอบขอใบอนุญาต การจัดทำและส่งใบขน รวมถึงการตรวจปล่อยสินค้า ซึ่งสินค้าแต่ละประเภทมีมีสลับซับซ้อนแตกต่างกันไป การที่มีผู้ชำนาญการในการดำเนินการให้จึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้นำเข้าส่งออก

Shipping (ชิปปิ้ง) 2

Freight Forwarder

มาทำความรู้จักกับธุรกิจประเภทนี้กันก่อน เพราะเชื่อว่าหลายๆ คนก็ยังไม่รู้จักธุรกิจประเภทนี้ เพราะว่าการให้คำจำกัดความที่ไม่ชัดเจนและคาบเกี่ยวกับธุรกิจอื่น ซึ่งทำให้เกิดการเรียกชื่อที่ผิดออกไป ธุรกิจอื่นที่กล่าวถึงก็คือ Custom Broker และ Shipping Custom Broker คืออะไร Custom Broker ก็คือนายหน้าในการจัดการผ่านพิธีการศุลกากร ซึ่งมีความหมายเดียวกับ Shipping ที่จัดการเกี่ยวกับการผ่านพิธีการศุลกากรเท่านั้นแล้ว Freight Forwarder คืออะไร Freight Forwarder ก็คือ ธุรกิจบริการประเภทหนึ่งที่ทำหน้าที่เป็นธุระแทนผู้ส่งออกและผู้นำเข้า ในเรื่องตั้งแต่การจองระวางเรือ การบรรจุสินค้า การขนส่ง การดำเนินพิธีการขาเข้า และขาออก การจัดการเกี่ยวกับเอกสารส่งออกและนำเข้า เป็นต้น กล่าวโดยสรุป Freight Forwarder ก็คือ บริษัทที่ให้บริการแก่ลูกค้าที่มากกว่าการผ่านพิธีการศุลกากร

บริการที่ Freight Forwarder สามารถให้บริการแก่ลูกค้า ได้แก่

  1. Custom Broker คือ ตัวแทนออกของให้กับผู้ส่งและผู้รับสินค้า
  2. Forwarding Business คือ ตัวแทนในการรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศของผู้ส่งออกและผู้นำเข้า
  3. Transportation Provider คือ ผู้ขนส่งสินค้าทั้งทางเครื่องบิน ทางเรือ และทางรถไฟ
  4. Packing บริการรับจัดการการบรรจุสินค้า
  5. Warehouse ให้บริการโรงพักสินค้า อาจจะเป็นผู้ดำเนินการบริหารจัดการเอง หรือร่วมกับผู้ประกอบการอื่นที่มีโรงพักสินค้าไว้บริการ
  6. Labour ให้บริการทางด้านแรงงาน คนงาน ในการบรรจุสินค้าเข้าตู้คอนเทนเนอร์
  7. Multimodal Transport ให้บริการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ
  8. Logistics Service ให้บริการในการบริหารโลจิสติกส์ หรือการกระจายสินค้า
  9. Business Consultant ให้บริการในการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการส่งออกและนำเข้า

จากการให้บริการข้างต้นบริษัทจะเป็นนายหน้าหรือทำหน้าที่เป็นผู้ขนส่งเองก็ได้ กล่าวคือโดยปกติ บริษัทชิปปิ้งรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศนั้นจะต้องจัดการเรื่องของการขนส่งให้แก่ลูกค้าตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงปลายทาง แต่ก็มีข้อยกเว้นในกรณีที่ลูกค้าต้องการที่จะจัดการเองในบางขั้นตอน บริษัทชิปปิ้งอาจจะจัดการเองแต่เพียงผู้เดียวหรือว่าจ้างให้ผู้บริการรายอื่นก็ได้ ดังนั้นบริษัทชิปปิ้งจะต้องมีสายป่านยาว คือมีเครือข่ายที่กว้างขวางทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อที่จะสามารถรองรับความต้องการของลูกค้าได้มากที่สุด อีกทั้งจะต้องมีเงินหมุนเวียนมากพอสมควร เนื่องจากค่าใช้จ่ายบางอย่าง ทางบริษัทจะต้องมีการสำรองจ่ายให้กับลูกค้าไปก่อน อย่างเช่น ค่าระวางเรือ ค่าใช้จ่ายที่ท่าเรือ และค่าเอกสารบางอย่าง เป็นต้น แต่ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะและสัญญาซื้อขายของลูกค้าด้วย

Shipping Document(เอกสารชิปปิ้ง)

รายการเอกสารที่ชิปปิ้งต้องใช้สำหรับการนำเข้า

  1. Commercial Invoice
  2. Packing List
  3. B/L (Bill of lading)
  4. D/O (Delivery Order)
  5. เอกสารประกอบเพิ่มเติมในกรณีต่าง ๆ เช่น MSDS (Material safety data sheet), อย.(อาหารและยา), สมอ.(มาตราฐานอุตสาหกรรม), C/O Form (เอกสารยืนยันถิ่นกำเนิด) เป็นต้น

รายการเอกสารชิปปิ้งสำหรับการส่งออก

  1. Commercial Invoice
  2. Packing List
  3. เอกสารประกอบเพิ่มเติมในกรณีต่าง ๆ เช่น MSDS (Material safety data sheet), อย.(อาหารและยา), สมอ.(มาตราฐานอุตสาหกรรม), C/O Form (เอกสารยืนยันถิ่นกำเนิด) เป็นต้น

รายการเอกสารทั้งหมดนี้เป็นแค่รายการเอกสารนำเข้าส่งออกที่ใช้กันบ่อย ๆ ทั่วไป

Shipping(ชิปปิ้ง) & Freight Forwarder

“Freight Forwarder” ต่างกับ “Shipping(ชิปปิ้ง)” อย่างไร

Freight Forwarder หมายถึง ตัวแทน/ตัวกลาง ระหว่างผู้ส่งออก-ผู้นำเข้า-สายเรือ/สายการบิน รับผิดชอบจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ไม่มีเรือหรือเครืองบินเป็นของตัวเอง เปรียบเสมือนคนกลางที่เข้าช่วยทำงาน ช่วยติดต่อประสานงานให้ผู้นำเข้า-ส่งออกได้รับความสะดวกสบาย รวดเร็วและราคาที่เป็นธรรมแต่หลายท่านมักจะเหมารวมว่า “Freight Forwarder “คือ “Shipping(ชิปปิ้ง)” ซึ่งสองสิ่งนี้มันคือคนละเรืองเดียวกันค่ะ เอาเป็นว่าจริงๆแล้ว “Freight Forwarder” เมือจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศให้แล้วก็ยังรับดำเนินพิธีการศุลกากรแทนผู้นำเข้าและผู้ส่งออกซึ่งเป็นเจ้าของสินค้า โดยจัดทำใบขนสินค้า ยื่นใบขนสินค้าต่อเจ้าพนักงานศุลกากร ณ ด่านศุลกากรเพื่อให้มีการตรวจปล่อยสินค้า และส่งมอบสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศให้แก่ผู้นำเข้าหรือส่งสินค้าออกด้วย ซึ่งส่วนนี้ที่เรียกว่า “Shipping(ชิปปิ้ง)” หรือจะเรียกว่าเป็นการทำงานแบบ “One Stop Service” บริษัท Convergent Interfreight ให้บริการแบบOne Stop Serviceทำให้งานของท่านลื่นไหลและจบลงได้ด้วยการใช้บริการเจ้าเดียว