
ของต้องห้าม(Prohibited Items)
หมายถึง ของที่ห้ามไม่ให้นำเข้ามา หรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร เช่น
- สารเสพติด
- วัตถุ หรือสื่อลามก
- ของลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้า ละเมิดลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา
- ธนบัตร หรือเหรียญกษาปณ์ปลอม
- สัตว์ป่าสงวน หรือสัตว์ที่อยู่ในบัญชีควบคุมของอนุสัญญาไซเตส
ของต้องกำกัด(Restricted Items)
หมายถึง ของบางชนิด ที่กฎหมายควบคุมการนำเข้ามาและการส่งออกไปนอกราชอาณาจักรการนำเข้าและการส่งออกของต้องกำกัด ต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องซึ่งจะต้องนำมาแสดงในเวลาปฏิบัติพิธีการศุลกากรด้วย ตัวอย่าง เช่น
ประเภท | หน่วยงานที่ออกใบอนุญาต |
พระพุทธรูป ศิลปวัตถุ โบราณวัตถุ | กรมศิลปากร http://nsw.finearts.go.th |
อาวุธปืน กระสุนปืน วัตถุระเบิด และสิ่งเทียมอาวุธปืน | กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย www.dopa.go.th |
พืชและส่วนต่างๆของพืช | กรมวิชาการเกษตร www.doa.go.th |
สัตว์มีชีวิตและซากสัตว์ | กรมปศุสัตว์ www.dld.go.th |
อาหาร ยา เครื่องสำอาง และอาหารเสริม | สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา www.fda.moph.go.th |
ชิ้นส่วนยานพาหนะ | กระทรวงอุตสาหกรรม www.industry.go.th |
บุหรี่ ยาสูบ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ | กรมสรรพสามิต www.excise.go.th |
เครื่องมือวิทยุสื่อสาร อุปกรณ์โทรคมนาคม | สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ www.nbtc.go.th |
ของต้องห้ามและของต้องกำกัดต่างกันอย่างไร?
ของต้องห้ามก็คือห้ามนำเข้า นำออก หรือส่งผ่านเด็ดขาดไม่ว่ากรณีใดๆ
ส่วนของต้องกำกัดคือนำเข้า นำออก หรือส่งผ่านได้ซึ่งถูกควบคุมโดยกฎหมาย และต้องมีใบอนุญาตตามมาตราพระราชบัญญัติศุลกากรกำหนด
หากเราพกสิ่งของต้องห้ามหรือสิ่งของต้องกำกัดโดยไม่มีใบอนุญาตจะเกิดอะไรขึ้น?
ควรจะหลีกเลี่ยงของจำพวกนี้ เพราะการทำงานของกรมศุลกากรจะใช้ทั้งการแสกนและการสุ่มตรวจ ซึ่งบางคนอาจจะบอกว่าก็เคยเอาเข้ามาได้ไม่เห็นโดนจับเลย
นั่นอยู่ในกรณีที่คุณไม่โดนสุ่มตรวจแต่ถ้าเมื่อไหร่ที่กรมศุลกากรตรวจเจอ จะโดนข้อหาหนัก ทั้งปรับจนอ่วม หรืออาจโดนจำคุกได้