การขนส่งโลจิสติกส์(Logistic)

เป็นการจัดการระบบขนส่งสินค้าต่างๆ ที่เกิดจากความต้องการของลูกค้า
โดยการขนส่งเคลื่อนย้ายจากต้นทางไปสู่ปลายทางที่ตั้งไว้เพื่อตอบสนองต่อผู้บริโภคโลจิสติกส์นั้นเป็นการรวมกันของ
ข้อมูล,การขนส่ง,การบริหารวัสดุคงคลัง,การจัดการวัตถุดิบ,การบรรจุหีบห่อ โลจิสติกส์เป็นช่องทางที่ใช้เพิ่มมูลค่าการ
ใช้ประโยชน์ของเวลาและสถานที่ทุกอย่างที่มีเกี่ยวกับการขนส่ง จะเกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์ทั้งหมด

เป้าหมายของโลจิสติกส์

นั้นคือการลดค่าใช้จ่ายลดระยะเวลาขนส่งและลดปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในระหว่าง
ขนส่งโดยให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการขนส่ง

     กิจกรรมที่สำคัญของโลจิสติกส์

  1. Order management/Customer service คือ การจัดการการรับหรือส่งสินค้า และ การบริการลูกค้า
  2. Packaging คือ การคัดเลือกบรรจุภัณฑ์เพื่อมาใช้บรรจุสินค้า
  3. Material handling คือ การขนถ่ายวัสดุภายในโรงงาน หรือ ในคลังสินค้า
  4. Transportations/Mode of transportations (Domestic & International) คือ การขนส่งสินค้าระหว่างสถานที่ต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ
  5. Warehouse management (Layout, locations, control technology/equipment, facility) คือ การจัดการคลังสินค้า ไม่ว่าจะเป็นการวางผังสินค้าหรือ สถานที่ ที่จะตั้งคลังสินค้า
  6. Inventory control systems (Qty)/ material management คือ ระบบในการบริหารสินค้าคงคลัง เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนหรือกระจายสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  7. Supplier management/material management คือ การบริหารจัดการผู้ผลิตวัตถุดิบให้เรา (Supplier) เพื่อให้ได้ วัตถุดิบที่มีคุณภาพและ เพียงพอต่อความต้องการในเวลาที่เหมาะสม
  8. Distribution center/distribution hub คือการกำหนดแหล่งที่ตั้งในการกระจายสินค้าเพื่อเกิดการกระจายสินค้าอย่างทั่วถึง
  9. Manufacturing/production control คือ ระบบควบคุมการผลิต

ประโยชน์ของโลจิสติกส์

ต่อภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม ช่วยลดต้นทุนเพื่อสร้างกำไรทางธุรกิจได้มากขึ้น เป็นเครื่องมือสำคัญในการแข่งขันธุรกิจเปลี่ยนการทำงานจากหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกันเป็นขบวนการประสานงานให้บรรลุเป้าหมายและนโยบายองค์การทำให้งานที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายอื่นที่ต้นทุนสูง สามารถลดต้นทุนได้ ก่อให้เกิดการใช้ทรัพย์สินที่คุ้มค่าขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพในการบริการลูกค้า สร้างสัมพันธ์ลูกค้าภายในและภายนอกองค์การ เป็นพื้นฐานของการเจริญเติบโตของธุรกิจทำให้เกิดความรวดเร็วอันเนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศ

ประเภทของโลจิสติกส์

• โลจิสติกส์เพื่อการขนส่งผู้โดยสาร( Passenger Logistics)
• โลจิสติกส์เพื่อการผลิต (Manufacturing Logistics)
• โลจิสติกส์เพื่อการกระจายสินค้า (Distribution Logistics)
การบริหารสินค้าคงคลัง รักษาสมดุลย์ระหว่าความต้องการของลูกค้า และผู้ขายสินค้าให้อยู่ในระดับสต็อคที่ต่ำสุด จัดทำสต็อคกรณีเก็งกำไรให้อยู่ในระดับที่พอดีกับความต้องการที่วางแผนไว้ ลงทุนสต็อคเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน สร้างความคงที่ในการผลิต และ การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิผล

ลักษณะธุรกิจแบบโลจิสติกส์ ในด้านการบริการ

1. แบบภายในประเทศ เป็นแบบขนส่งทั่ว ๆ ไปและแบบส่งร่วม

2. แบบสากลระหว่างประเทศ (การส่งออกและนำเข้าสินค้า) การขนส่งสินค้าออก และสินค้าเข้าคือเมื่อสินค้าพร้อมที่จะส่งออกจากโกดังโลจิสติกส์ หรือคลังสินค้าของโรงงานแล้ว หมายถึงว่ามีการแพคกิ้งเป็นมาตรฐานเพื่อการส่งออกและพร้อมด้วยใบอนุญาตต่าง ๆ ถ้าจำเป็นต้องใช้แล้วบริษัทขนส่งระบบโลจิสติกส์จะดำเนินการล่วงหน้าดังนี้
– การจองเรือเดินสมุทรหรือสายการบิน (Freight forwarder)
– การผ่านพิธีการทางศุลกากรและสิทธิพิเศษต่าง ๆ ที่จะได้รับชดเชยภาษี
– นำตู้คอนเทนเนอร์มาบรรจุที่โกดังโลจิสติกส์หรือคลังสินค้าของโรงงานแล้วบรรทุกไปที่ท่าเรือที่กำหนดไว้

3. งานโครงการขนาดใหญ่ งานก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ที่ต้องใช้เครื่องกลหนักหรือโรงงานอุตสาหกรรมหนักที่ต้องมีเครื่องจักรน้ำหนักมาก อีกทั้งยังเกี่ยวข้องกับการขนส่งวัสดุก่อสร้างหรือวัตถุดิบสำหรับการผลิตจำนวนมาก การรับงานขนส่งเคลื่อนย้ายเครื่องกลและเครื่องจักรขนาดหนักและวัสดุนี้ต้องใช้วิศวกรคิดคำนวณ สำรวจเส้นทาง วางแผนการทำงานโดยละเอียด ซึ่งงานลักษณะนี้จะต้องเขียนรายงาน ขั้นตอนในการที่จะทำงานและความเป็นไปได้อย่างละเอียดเสนอต่อเจ้าของงาน โดยใช้ระบบโลจิสติกส์มาช่วยในการจัดการและบริหารวางแผนงานต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อช่วยให้งานนั้นมีความราบรื่นด้วยดี

4. การขนส่งพืชเกษตร-ผลไม้และสัตว์น้ำ การขนส่งลักษณะนี้จำเป็นต้องใช้รถบรรทุกแบบมิดชิด มีการควบคุมอุณหภูมิ การออกแบบภายในรถบรรทุกจะต้องมีชั้นและช่องวางสินค้าเพื่อป้องกันความเสียหายจากการซ้อนทับกัน หรือใส่ภาชนะบรรจุพลาสติกโดนสามารถซ้อนกันได้ ภาชนะบรรจุที่ได้มาตรฐานสามารถใช้ได้ทั้งการส่งภายในประเทศและการส่งออกไปต่างประเทศด้วย สำหรับการขนส่งสินค้าเกษตรกรรมในปริมาณมากที่ใช้การขนส่งทางน้ำ ถ้าเป็นการส่งออกก็จะใช้เรือฉลอมซึ่งสามารถเข้าไปเทียบกับเรือเดินสมุทรได้โดยตรง

Cr : https://th.wikipedia.org/wiki/โลจิสติกส์